moopipe

moopipe

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หลักภาษาไทย (ต่อ)

ภาษาไทย


1. จุดเด่นภาษาไทย

  • ภาษาคำโดด = ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปของคำ
  • การวางคำหลักคำขยาย ในภาษาไทยจะเอาคำหลักขึ้นก่อนแล้วจึงตามด้วยคำขยาย
  • คำหลัก + คำขยาย เช่น ขนมอร่อย
  • มีเสียงวรรณยุกต์

2.สำนวนภาษาต่างประเทศ
  • เยิ่นเย้อ ดูได้จากมีคำว่า"มีความ, ให้ความ, ทำการ,ต่อการ, ต่อความ, ซึ่ง" แบบไม่จำเป็นเช่น ครูมีความดีใจมาก
  • วางส่วนขยายหน้าคำหลัก เช่น ง่ายแก่ความเข้าใจ
  • เอาคำว่า "มัน" มาขึ้นประโยคแบบไม่มีความหมาย เช่น มันดีจังเลย
  • นิยมใช้ Passive Voice (ถูก+Verb)ในความหมายที่ดี เช่น ถูกชมเชย
  • สำนวนบางสำนวน เช่น ในที่สุด ในอนาคตอันใกล้นี้ ในความคิดของผม พบตัวเอง ใช้ชีวิต
1.คำไทยแท้
คำไทยแท้มักจะเป็นคำพยางค์เดียวและสะกดตรงตามมาตรา
แต่ต้องระวังหน่อย : 

1.คำไทยแท้เกิน 1 พยางค์ก็มี

- ประ, กระ + คำไทย เช่น ประเดี๋ยว ประหนึ่ง กระดก กระดุม เป็นต้น

-คำกร่อนเสียง เช่น มะพร้าว มะม่วง ตะเข้ ระริก

คำบางคำ เช่นเสภา ระฆัง

2.คำพยางค์เดียวสะกดตรงมาตรบางคำก็ไม่ใช่คำไทย

-คำที่ใส่"ำ"(สระอำ) เข้าไปได้เป็นคำเขมร เช่น เกิดกราบ จง แจก ทาย เดิน อวย

-คำที่อ่านโดยใส่สระ "ะ" ไปที่ตัวอักษรสุดท้ายได้ เป็นคำบาลี-สันสกฤต เช่น เอก ทาน นาม ชน พระ(วร) โลก กาม ครู

คำไทยที่มีควบกล้ำมี 11 เสียง คือ ...
กร กล กว ก่อน
คร คล คว ค่ำ
ปร ปล ไป
พร พล พบ
ตร เตี่ย

3.คำบาลี - สันสกฤต

คำสันสกฤต

1.ควบกล้ำ หรือมี รร เช่น ปรโมทย์, วิเคราะห์, ภรรยา

2. มี"ศ,ษ,ฤ,ฤา,ฑ,สถ" เช่น ศักดา ฤษี จุฑฑา เสถียร

***คำ "ศ"เป็นภาษาสันสกฤต ยกเว้น ศอก เศิก เศร้า ศึก เป็นคำไทย

คำบาลี สังเกตจาก "ตัวสะกดและตัวตาม"

- ถ้าตัวสะกด ตัวตามอยู่ในวรรคเดียวกัน ถือเป็นคำบาลี 
เช่น มัจฉา รัฏฐา หัตถ์ บุปผา สัมมา

พยัญชนะวรรค

ก ก ข ค ฆ ง
จ จ ฉ ช ฌ ญ
ฎ ฎ ฐ ฑ ฒ ณ
ต ต ถ ท ธ น
ป ป ผ พ ภ ม
เศษวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ อ

4.คำเขมร คำเขมรสังเกตจาก
1. คำนั้นแผลง " " เข้าไปได้ เช่น
กราบ > กำราบ 
เกิด > กำเนิด 
เจริญ > จำเริญ
จอง(จำนอง) 
ชาญ(ชำนาญ)
ตรวจ(ตำรวจ) 
เสร็จ(สำเร็จ) 
อาจ(อำนาจ) 
แข็ง(กำแหง) 
ตรง(ดำรง) 
ตรัส(ดำรัส) 
ทรุด(ชำรุด) 
เปรอ(บำเรอ)
2.คำนั้นเอาคำว่า บำ,บัง,,บรร นำหน้าได้ เช่น
เพ็ญ > บำเพ็ญ 
บำราศ บำบัด บรรจง บรรทม

คำต่อไปนี้เป็นคำเขมร
- ขจาย ขจร ขจอก ขดาน ขจัด ขจบ
- เสด็จ เสวย บรรทม โปรด
- ถนน กระทรวง ทบวง ทหาร ทลาย แถง โถง
- ขนม สนุด นาน สนิม

5.คำภาษาอื่น ๆ
ภาษาทมิฬ เช่น ตะกั่ว อาจาด สาเก กุลี
ภาษาชวา+ มลายู เช่น บุหลัน บุหงา บุหรง ทุเรียน น้อยหน่า มังคุด มะละกอ โสร่ง สลัด กริช
ภาษาโปรตุเกส เช่น สบู่ ปิ่นโต เหรียญ กาละแม
ภาษาเปอร์เชีย เช่นกุหลาย ตรา ชุกชี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น