moopipe

moopipe

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ "คันจิ"


ตัวอักษรจีน เผยแพร่มาสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านหนังสือต่างๆ จากประเทศจีน หลักฐานอักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น คือ ตราประทับทองคำที่ได้รับจากฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในพ.ศ. 600 ชาวญี่ปุ่นเริ่มเรียนรู้ภาษาจีนโบราณด้วยตัวเองตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด เอกสารลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของญี่ปุ่นนั้น คือ หนังสือตอบกลับทางการทูตจากกษัตริย์ทั้งห้าแห่งวา (倭の五王 Wa no go-ō) (วา (倭,和 Wa]) เป็นชื่อแรกของประเทศญี่ปุ่นที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์) ถึง ซุ่นฮ่องเต้ ((劉)宋順帝) แห่งราชวงศ์หลิวซ่ง (劉宋) ของจีน ซึ่งเขียนขึ้นโดยชาวจีนที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น เมื่อพ.ศ. 1021 และได้รับการยกย่องว่าใช้สำนวนอุปมาอุปมัยได้อย่างยอดเยี่ยม ต่อมา จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นทรงก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า “ฟุฮิโตะ” ขึ้นเพื่ออ่านและเขียนภาษาจีนโบราณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา เอกสารภาษาจีนที่เขียนในญี่ปุ่นมักจะได้รับ ไกตายวัลตายจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแสดงว่าอักษรจีนได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในญี่ปุ่น ไกตายวัลตายผู้ธนกฤตกาก เจนครองธรรม พ่อของธนกากกฤตกากตายสุคาพภาพโป๊9ล้านล้านล้านสุคาพภาพโป๊
ในสมัยที่อักษรจีนเผยแพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ภาษาญี่ปุ่นเองยังไม่มีตัวอักษรไว้เขียน อักษรจีนหรือคันจิจะถูกเขียนเป็นภาษาจีน และอ่านเป็นเสียงภาษาจีนทั้งหมด ต่อมาจึงเริ่มมีการใช้ระบบคัมบุน (漢文 kanbun) คือ การใช้อักษรจีนร่วมกับเครื่องหมายแสดงการออกเสียง (Diacritic) เพื่อช่วยให้ชาวญี่ปุ่นสามารถออกเสียงตัวอักษรจีนนั้นๆได้ เมื่ออ่านออกเสียงได้แล้ว ชาวญี่ปุ่นก็จะสามารถเรียงประโยคใหม่ และเติมคำช่วยตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นที่ตนเองเข้าใจ และสามารถเข้าใจประโยคภาษาจีนนั้นได้ในที่สุด
ในยุคต่อมา เริ่มมีการนำตัวอักษรจีนมาเขียนเป็นประโยคภาษาญี่ปุ่น โดยใช้ระบบที่เรียกว่า มันโยงะนะ (万葉仮名, まんようがな Man'yōgana) คือ การใช้ตัวอักษรจีนหนึ่งตัวเขียนแทนภาษาญี่ปุ่นหนึ่งพยางค์ โดยจะใช้ตัวอักษรจีนที่มีเสียงในภาษาจีนใกล้เคียงกับพยางค์ของภาษาญี่ปุ่นพยางค์นั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงความหมายของอักษรจีนตัวนั้นเลย ระบบการเขียนนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือรวมบทกวีชื่อมันโยชู (万葉集 Man'yōshū) แต่งขึ้นประมาณพ.ศ. 1302 ในยุคนะระ ถือเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ของญี่ปุ่น
การใช้ระบบอักษรพยางค์นี้ ได้พัฒนาไปเป็นอักษรฮิระงะนะ ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมันโยงะนะที่เขียนด้วยพู่กันในแบบอักษรหวัด วัตถุประสงค์เดิมของอักษรฮิระงะนะ คือ เพื่อให้สตรีซึ่งสังคมไม่ยอมได้ให้รับการศึกษาสูงได้อ่านออกเขียนได้ วรรณกรรมในยุคเฮอันส่วนใหญ่ที่ผู้แต่งเป็นสตรีถูกเขียนด้วยอักษรฮิระงะนะ
อักษรพยางค์อีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น คือ อักษรคะตะคะนะ มีต้นกำเนิดคล้ายคลึงกับอักษรฮิระงะนะ อักษรคะตะคะนะดัดแปลงมาจากอักษรมันโยงะนะเช่นกัน แต่ตัดเฉพาะบางส่วนของอักษรมันโยงะนะมาเป็นอักษรคะตะคะนะหนึ่งตัว อักษรคะตะคะนะกำเนิดในสำนักสงฆ์ยุคเฮอัน ใช้เสมือนการย่ออักษรมันโยงะนะเพื่อให้ง่ายต่อพระสงฆ์ในการศึกษาพระคัมภีร์ ดังนั้น ตัวอักษรคะนะ ของญี่ปุ่นทั้งฮิระงะนะและคะตะคะนะ จึงมีต้นกำเนิดมาจากอักษรคันจินี่เอง
ในปัจจุบัน อักษรคันจิใช้เขียนเป็นส่วนหนึ่งของคำภาษาญี่ปุ่นมากมาย โดยอักษรคันจิจะเป็นขั้วคำ หรือหัวข้อของคำ (Word stem) และเติมอักษรฮิระงะนะ เพื่อการผันคำให้เป็นทั้งคำนาม คำวิเศษณ์ และคำกริยา นอกจากนี้ อักษรคันจิจะใช้เชียนชื่อสิ่งต่างๆ ทั้งชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อเมือง ชื่อวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อความเป็นทางการ
เนื่องจากอักษรจีนนั้น มีจำนวนนับไม่ถ้วน ทำให้ยากต่อการเรียนรู้และจดจำ กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นจึงได้ประกาศชุดอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า โจโยคันจิ (常用漢字 Jōyō kanji) ซึ่งชาวญี่ปุ่นมักจะจดจำอ่านออกเสียงได้ ส่วนอักษรคันจินอกเหนือจากนี้ จะเขียนกำกับเสียงด้วยอักษร โอะกุริงะนะ (送り仮名 Okurigana) ซึ่งเป็นอักษรฮิระงะนะตัวเล็กๆ กำกับเสียงของอักษรคันจิแต่ละตัว เพื่อให้ทราบความหมายและอ่านออกเสียงได้