moopipe

moopipe

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ "คันจิ"


ตัวอักษรจีน เผยแพร่มาสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านหนังสือต่างๆ จากประเทศจีน หลักฐานอักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น คือ ตราประทับทองคำที่ได้รับจากฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในพ.ศ. 600 ชาวญี่ปุ่นเริ่มเรียนรู้ภาษาจีนโบราณด้วยตัวเองตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด เอกสารลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของญี่ปุ่นนั้น คือ หนังสือตอบกลับทางการทูตจากกษัตริย์ทั้งห้าแห่งวา (倭の五王 Wa no go-ō) (วา (倭,和 Wa]) เป็นชื่อแรกของประเทศญี่ปุ่นที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์) ถึง ซุ่นฮ่องเต้ ((劉)宋順帝) แห่งราชวงศ์หลิวซ่ง (劉宋) ของจีน ซึ่งเขียนขึ้นโดยชาวจีนที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น เมื่อพ.ศ. 1021 และได้รับการยกย่องว่าใช้สำนวนอุปมาอุปมัยได้อย่างยอดเยี่ยม ต่อมา จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นทรงก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า “ฟุฮิโตะ” ขึ้นเพื่ออ่านและเขียนภาษาจีนโบราณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา เอกสารภาษาจีนที่เขียนในญี่ปุ่นมักจะได้รับ ไกตายวัลตายจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแสดงว่าอักษรจีนได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในญี่ปุ่น ไกตายวัลตายผู้ธนกฤตกาก เจนครองธรรม พ่อของธนกากกฤตกากตายสุคาพภาพโป๊9ล้านล้านล้านสุคาพภาพโป๊
ในสมัยที่อักษรจีนเผยแพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ภาษาญี่ปุ่นเองยังไม่มีตัวอักษรไว้เขียน อักษรจีนหรือคันจิจะถูกเขียนเป็นภาษาจีน และอ่านเป็นเสียงภาษาจีนทั้งหมด ต่อมาจึงเริ่มมีการใช้ระบบคัมบุน (漢文 kanbun) คือ การใช้อักษรจีนร่วมกับเครื่องหมายแสดงการออกเสียง (Diacritic) เพื่อช่วยให้ชาวญี่ปุ่นสามารถออกเสียงตัวอักษรจีนนั้นๆได้ เมื่ออ่านออกเสียงได้แล้ว ชาวญี่ปุ่นก็จะสามารถเรียงประโยคใหม่ และเติมคำช่วยตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นที่ตนเองเข้าใจ และสามารถเข้าใจประโยคภาษาจีนนั้นได้ในที่สุด
ในยุคต่อมา เริ่มมีการนำตัวอักษรจีนมาเขียนเป็นประโยคภาษาญี่ปุ่น โดยใช้ระบบที่เรียกว่า มันโยงะนะ (万葉仮名, まんようがな Man'yōgana) คือ การใช้ตัวอักษรจีนหนึ่งตัวเขียนแทนภาษาญี่ปุ่นหนึ่งพยางค์ โดยจะใช้ตัวอักษรจีนที่มีเสียงในภาษาจีนใกล้เคียงกับพยางค์ของภาษาญี่ปุ่นพยางค์นั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงความหมายของอักษรจีนตัวนั้นเลย ระบบการเขียนนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือรวมบทกวีชื่อมันโยชู (万葉集 Man'yōshū) แต่งขึ้นประมาณพ.ศ. 1302 ในยุคนะระ ถือเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ของญี่ปุ่น
การใช้ระบบอักษรพยางค์นี้ ได้พัฒนาไปเป็นอักษรฮิระงะนะ ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมันโยงะนะที่เขียนด้วยพู่กันในแบบอักษรหวัด วัตถุประสงค์เดิมของอักษรฮิระงะนะ คือ เพื่อให้สตรีซึ่งสังคมไม่ยอมได้ให้รับการศึกษาสูงได้อ่านออกเขียนได้ วรรณกรรมในยุคเฮอันส่วนใหญ่ที่ผู้แต่งเป็นสตรีถูกเขียนด้วยอักษรฮิระงะนะ
อักษรพยางค์อีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น คือ อักษรคะตะคะนะ มีต้นกำเนิดคล้ายคลึงกับอักษรฮิระงะนะ อักษรคะตะคะนะดัดแปลงมาจากอักษรมันโยงะนะเช่นกัน แต่ตัดเฉพาะบางส่วนของอักษรมันโยงะนะมาเป็นอักษรคะตะคะนะหนึ่งตัว อักษรคะตะคะนะกำเนิดในสำนักสงฆ์ยุคเฮอัน ใช้เสมือนการย่ออักษรมันโยงะนะเพื่อให้ง่ายต่อพระสงฆ์ในการศึกษาพระคัมภีร์ ดังนั้น ตัวอักษรคะนะ ของญี่ปุ่นทั้งฮิระงะนะและคะตะคะนะ จึงมีต้นกำเนิดมาจากอักษรคันจินี่เอง
ในปัจจุบัน อักษรคันจิใช้เขียนเป็นส่วนหนึ่งของคำภาษาญี่ปุ่นมากมาย โดยอักษรคันจิจะเป็นขั้วคำ หรือหัวข้อของคำ (Word stem) และเติมอักษรฮิระงะนะ เพื่อการผันคำให้เป็นทั้งคำนาม คำวิเศษณ์ และคำกริยา นอกจากนี้ อักษรคันจิจะใช้เชียนชื่อสิ่งต่างๆ ทั้งชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อเมือง ชื่อวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อความเป็นทางการ
เนื่องจากอักษรจีนนั้น มีจำนวนนับไม่ถ้วน ทำให้ยากต่อการเรียนรู้และจดจำ กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นจึงได้ประกาศชุดอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า โจโยคันจิ (常用漢字 Jōyō kanji) ซึ่งชาวญี่ปุ่นมักจะจดจำอ่านออกเสียงได้ ส่วนอักษรคันจินอกเหนือจากนี้ จะเขียนกำกับเสียงด้วยอักษร โอะกุริงะนะ (送り仮名 Okurigana) ซึ่งเป็นอักษรฮิระงะนะตัวเล็กๆ กำกับเสียงของอักษรคันจิแต่ละตัว เพื่อให้ทราบความหมายและอ่านออกเสียงได้

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ดอกกรรณิการ์


“…กรรณิการ์  ก้านสีแดงสด
คิดผ้าแสดติดขลิบนาง
เห็นเนื้อเรื่อโรงราง
ห่มสองบ่าอ่าโนเน่…”

หลักภาษาไทย (ต่อ)

ภาษาไทย


1. จุดเด่นภาษาไทย

  • ภาษาคำโดด = ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปของคำ
  • การวางคำหลักคำขยาย ในภาษาไทยจะเอาคำหลักขึ้นก่อนแล้วจึงตามด้วยคำขยาย
  • คำหลัก + คำขยาย เช่น ขนมอร่อย
  • มีเสียงวรรณยุกต์

2.สำนวนภาษาต่างประเทศ
  • เยิ่นเย้อ ดูได้จากมีคำว่า"มีความ, ให้ความ, ทำการ,ต่อการ, ต่อความ, ซึ่ง" แบบไม่จำเป็นเช่น ครูมีความดีใจมาก
  • วางส่วนขยายหน้าคำหลัก เช่น ง่ายแก่ความเข้าใจ
  • เอาคำว่า "มัน" มาขึ้นประโยคแบบไม่มีความหมาย เช่น มันดีจังเลย
  • นิยมใช้ Passive Voice (ถูก+Verb)ในความหมายที่ดี เช่น ถูกชมเชย
  • สำนวนบางสำนวน เช่น ในที่สุด ในอนาคตอันใกล้นี้ ในความคิดของผม พบตัวเอง ใช้ชีวิต
1.คำไทยแท้
คำไทยแท้มักจะเป็นคำพยางค์เดียวและสะกดตรงตามมาตรา
แต่ต้องระวังหน่อย : 

1.คำไทยแท้เกิน 1 พยางค์ก็มี

- ประ, กระ + คำไทย เช่น ประเดี๋ยว ประหนึ่ง กระดก กระดุม เป็นต้น

-คำกร่อนเสียง เช่น มะพร้าว มะม่วง ตะเข้ ระริก

คำบางคำ เช่นเสภา ระฆัง

2.คำพยางค์เดียวสะกดตรงมาตรบางคำก็ไม่ใช่คำไทย

-คำที่ใส่"ำ"(สระอำ) เข้าไปได้เป็นคำเขมร เช่น เกิดกราบ จง แจก ทาย เดิน อวย

-คำที่อ่านโดยใส่สระ "ะ" ไปที่ตัวอักษรสุดท้ายได้ เป็นคำบาลี-สันสกฤต เช่น เอก ทาน นาม ชน พระ(วร) โลก กาม ครู

คำไทยที่มีควบกล้ำมี 11 เสียง คือ ...
กร กล กว ก่อน
คร คล คว ค่ำ
ปร ปล ไป
พร พล พบ
ตร เตี่ย

3.คำบาลี - สันสกฤต

คำสันสกฤต

1.ควบกล้ำ หรือมี รร เช่น ปรโมทย์, วิเคราะห์, ภรรยา

2. มี"ศ,ษ,ฤ,ฤา,ฑ,สถ" เช่น ศักดา ฤษี จุฑฑา เสถียร

***คำ "ศ"เป็นภาษาสันสกฤต ยกเว้น ศอก เศิก เศร้า ศึก เป็นคำไทย

คำบาลี สังเกตจาก "ตัวสะกดและตัวตาม"

- ถ้าตัวสะกด ตัวตามอยู่ในวรรคเดียวกัน ถือเป็นคำบาลี 
เช่น มัจฉา รัฏฐา หัตถ์ บุปผา สัมมา

พยัญชนะวรรค

ก ก ข ค ฆ ง
จ จ ฉ ช ฌ ญ
ฎ ฎ ฐ ฑ ฒ ณ
ต ต ถ ท ธ น
ป ป ผ พ ภ ม
เศษวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ อ

4.คำเขมร คำเขมรสังเกตจาก
1. คำนั้นแผลง " " เข้าไปได้ เช่น
กราบ > กำราบ 
เกิด > กำเนิด 
เจริญ > จำเริญ
จอง(จำนอง) 
ชาญ(ชำนาญ)
ตรวจ(ตำรวจ) 
เสร็จ(สำเร็จ) 
อาจ(อำนาจ) 
แข็ง(กำแหง) 
ตรง(ดำรง) 
ตรัส(ดำรัส) 
ทรุด(ชำรุด) 
เปรอ(บำเรอ)
2.คำนั้นเอาคำว่า บำ,บัง,,บรร นำหน้าได้ เช่น
เพ็ญ > บำเพ็ญ 
บำราศ บำบัด บรรจง บรรทม

คำต่อไปนี้เป็นคำเขมร
- ขจาย ขจร ขจอก ขดาน ขจัด ขจบ
- เสด็จ เสวย บรรทม โปรด
- ถนน กระทรวง ทบวง ทหาร ทลาย แถง โถง
- ขนม สนุด นาน สนิม

5.คำภาษาอื่น ๆ
ภาษาทมิฬ เช่น ตะกั่ว อาจาด สาเก กุลี
ภาษาชวา+ มลายู เช่น บุหลัน บุหงา บุหรง ทุเรียน น้อยหน่า มังคุด มะละกอ โสร่ง สลัด กริช
ภาษาโปรตุเกส เช่น สบู่ ปิ่นโต เหรียญ กาละแม
ภาษาเปอร์เชีย เช่นกุหลาย ตรา ชุกชี

หลักภาษาไทย

ธรรมชาติของภาษา

  1. ภาษาในความหมายอย่างแคบ คือ ภาษาพูดของคน
  2. ทุกวันนี้ ยังมีอีกหลายภาษาที่ไม่มีภาษาเขียน
  3. แต่ละกลุ่มกำหนดภาษากันเอง เสียงในแต่ละภาษาจึงมีความหมายไม่ตรงกัน
  4. ลักษณะของภาษาทั่ว ๆ ไป
  • มีเสียงสระและพยัญชนะ (วรรณยุกต์มีบางภาษาเช่น ไทย,จีน)
  • ขยายให้ใหญ่ขึ้นได้
  • มีคำนาม, กริยา, คำขยาย
  • เปลี่ยนแปลงได้
  • ภาษาเปลี่ยนแปลงได้ เพราะสาเหตุหลายข้อ เช่น
สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน เช่น ขายตัว ศักดินา จริต สำส่อน แกล้ง ห่ม

การพูด ได้แก่ การกร่อนเสียง และกลมกลืนเสียง

- กร่อนเสียง เช่น"หมากพร้าว" กร่อนเป็น"มะพร้าว"

-กลมกลืนเสียง เช่น"อย่างไร" กลืนเสียงเป็น "ยังไง"

ภาษาต่างประเทศ เช่นสำนวน"ในความคิดของข้าพเจ้า"

เด็กออกเสียงเพี้ยน เช่นกะหนม,ไอติม,ป้อ(พ่อ)

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)


อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)

                สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูแคริโอต การจำแนกเป็นไฟลัมต่างๆใช้ลักษณะสำคัญคือ จำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ ช่องภายในตัว ปล้องขา ลำตัว ชนิดของท่อทางเดินอาหาร สมมาตร (symmetry) ของลำตัว ชนิดของระบบไหลเวียน และการพัฒนาของระบบอื่นๆ แบ่งออกเป็นสอง ซับคิงดอม (Subkingdom) คือ ซับคิงดอมพาราซัว (Parazoa) ได้แก่ฟองน้ำและซับคิงดอมเมทาซัว(Metazoa) ได้แก่สัตว์อื่นๆที่เหลือ ซึ่งแบ่งย่อยเป็นไฟลัมต่างๆมากถึง30 ไฟลัมในปัจจุบัน แต่ที่สำคัญมี 10 ไฟลัมคือ
1.       ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) เป็นสัตว์หลายเซลล์ ไม่มีสมมาตร ลำตัวเป็นรูพรุน มีช่องน้ำเข้าและช่องน้ำออก มีโครงร่างแข็งหรือเป็นเส้นใยโปรตีน เช่น ฟองน้ำแก้ว สกุลEuplectella ฟองน้ำน้ำจืด สกุล Spongilla ฟองน้ำถูตัว สกุลSpongia
2.       ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylun Coelenterata) เป็นสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อสองชั้น มีสมมาตรแบบรัศมี(radial symmetry) มีท่อทางเดินอาหาร แต่ไม่มีช่องตัว มีเซลล์ไนโดไซต์(cnidocyte) สร้างเข็มพิษ (nematocyst) แบ่งเป็นสามชั้น
2.1    ชั้นไฮโดรชัว (Hydrozoa) ได้แก่ ไฮดรา (Hydra)แมงกะพรุนไฟ (Physalia)
2.2    ชั้นไซโฟซัว (Scyphozoa) ได้แก่ แมงกะพรุนหนัง(Aurelia) แมงกะพรุนไฟ (Chironex)
2.3    ชั้นแอนโทซัว (Anthozoa) ได้แก่ ปะการัง (coral)ปะการังเขากวาง (Acrepora) กัลปังหา (sea fan)
3.       ไฟลัมแพลทิเฮลมินทีส (Phylum Platyhelminthes) ได้แก่ หนอนตัวแบน มีเนื้อเยื่อสามชั้น ไม่มีช่องตัว มีสมมาตรแบบด้านข้าง (bilateralsymmetry) มีระบบย่อยอาหาร (บางชนิดไม่มีแบ่งเป็นสามชั้น
3.1    ชั้นเทอร์เบลลาเรีย (Turbellaria) ได้แก่ พลานาเรีย(Dugesia)
3.2    ชั้นทรีมาโทดา (Trematoda) ได้แก่ พยาธิใบไม้(fluke) เช่น พยาธิใบไม้ในตับ (Opisthorchis viverrini)
3.3    ชั้นเซสโทดา (Cestoda) ได้แก่ พยาธิตัวตืด (tape worm) เช่น พยาธิตัวตืดหมู (Taenia solium)
4.       ไฟลัมเนมาโทดา (Nematoda) ได้แก่ หนอนตัวกลม มีเนื้อเยื่อสามชั้นมีสมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวเทียม(pseudocoet) เช่น พยาธิไส้เดือน (Ascaris lumbricoides)โรคเท้าช้าง (Brugia malayi)
5.       ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida) หนอนปล้อง ลำตัวแบ่งเป็นปล้องชัดเจน มีเนื้อเยื่อสามชั้นมีสมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวที่แท้จริง (coelom) มีระบบไหลเวียนและระบบประสาท แบ่งเป็นสามชั้น
5.1    ชั้นโพลีคีตา (Polychaeta) ได้แก่ แม่เพรียง (Nereis)หนอนฉัตร (trbe worm)
5.2    ชั้นโอลิโกคีตา (Oligochaeta) ได้แก่ ไส้เดือนดิน(Pheretima)
5.3    ชั้นไฮรูดิเนีย (Hirudinea) ได้แก่ ปลิง (leech) ทากดูดเลือด (landleech)
6.       ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) ลำตัวนิ่มมักมีเปลือกหุ้มเนื้อเยื่อสามชั้น มีสมมาตรด้านข้างมีช่องตัวลดรูปจนมีขนาดเล็ก มีระบบไหลเวียนและระบบประสาท แบ่งเป็นห้าชั้น
6.1    ชั้นแอมฟินิวรา (Amphimeura) ได้แก่ ลิ่นทะเล(chiton)
6.2    ชั้นแกสโทรโพดา (Gastropoda) ได้แก่ หอยกาบเดี่ยว (snail) หอยทาก (slug) ทากทะเล (nudibranch)
6.3    ชั้นแพลีไซโพดา (Pelecypoda) ได้แก่ หอยกาบคู่(bivalves) เช่นหอยแมลงภู่ (Mytilus biridis)
6.4    ชั้นสแคโฟโพดา (Scaphoposa)ได้แก่ หอยงาช้าง(tusk shell)
6.5    ชั้นเซฟาโลโพดา (Cephalopoda) ได้แก่ ปลาหมึกสาย หรือปลาหมึกยักษ์ (Octopus) ปลาหมึกกล้วย(Loligo) หอยงวงช้าง (nautilus)
7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) สัตว์ที่มีลำตัวแบ่งเป็นปล้องมีโครงร่างภายนอกหรือเปลือกปกคลุม ขาต่อเป็นข้อๆ สมมาตรแบบด้านข้างมีระบบไหลเวียนและระบบประสาท แบ่งเป็นสองซับไฟลัม คือ เคลิเซอราตา (Chelicerata) ได้แก่ แมงดาทะเล และแมงมุม และซับไฟลัมแมนดิบูลาตา(Mandibulata) เช่น กุ้ง ปู ตะขาบ กิ้งกือ แบ่งเป็นชั้นดังนี้
7.1 ไซโฟซูริดา (Xiphosurida) ได้แก่ แมงดาจาน(Tachypleus gigas)
7.2 อะแร็กนิดา (Arachnida) ได้แก่ แมงมุม แมงป่อง
7.3 ครัสเตเชีย (Crustacea) ได้แก่ กุ้ง กั้ง ปู เพรียงหิน
7.4 ไคโลโพดา (Chilopida) ได้แก่ ตะขาบ
7.5 ไดโพลโพดา (Diplopoda)ได้แก่ กิ้งกือ
7.6 อินเซกตา (Insecta) ได้แก่ แมลงต่างๆ
8. ไฟลัมอีคิโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata) เป็นสัตว์ทะเลทั้งหมด ผิวหนังมีหนาม ตัวอ่อนมีสมมาตรด้านข้าง ตัวเต็มวัยมีสมมาตรรัศมีมีระบบน้ำใช้ในการเคลื่อนที่ มีระบบไหลเวียน ระบบประสาท และระบบท่อทางเดินอาหาร จำแนกเป็นห้าชั้น
8.1 ชั้นแอสเทอรอยเดีย (Asteroidea) ได้แก่ ปลาดาว หรือดาวทะเล (star fish)
8.2 ชั้นโอฟิยูรอยเดีย (Ophiuroidea) เช่น ดาวเปราะ (brittle star)
8.3 ชั้นอีคิยูรอยเดีย (Echiuroidea) เช่น เม่นทะเล (sea urchin) เหรียญทราย (sand dollar)
8.4 ชั้นโฮโลทูรอยเดีย (Holothuroidea) เช่น ปลิงทะเล (sea cucumber)
8.5 ไคนอยเดีย (Crinoidea) เช่น ดาวขนนก(feather star) พลับพลึงทะเล (sea lilly)
9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) สัตว์มีกระดูกสันหลัง มีสมมาตรด้านข้าง มีช่องตัวอย่างแท้จริง มีระบบต่างๆพัฒนาสูงสุด จำแนกเป็นสามซับไฟลัมคือ
9.1 ซับไฟลัมยูโรคอร์ดาตา (Subphhylum Urochordata) ได้แก่ เพรียงหัวหอม (tunicate)
9.2 ซับไฟลัมเซฟาโลคอร์ดาตา (Subphylum Cephalochordata)ได้แก่แอมฟิออกซัส(Amphioxus)
9.3 ซับไฟลัมเวอร์ทีบราตา (Vertebrata) ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด จำแนกเป็นชั้นดังนี้
9.3.1 ชั้นแอ็กนาทา (Agnatha) ได้แก่ ปลาปากกลม (cyclostome)
9.3.2 ชั้นคอนดริกไทอีส(Chomdrichthyes) ได้แก่ ปลากระดูกอ่อน เช่น ปลาฉลาม ปลาฉนาก ปลากระเบน
9.3.3 ชั้นออสทีอิกไทอีส(Osteichthyes) ได้แก่ ปลากระดูกแข็ง เช่น ปลากะพง ปลาช่อน ปลาหมอเทศ
9.3.4 ชั้นแอมฟิเบีย (Amphibia) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ กบ คางคก เขียด แซลาแมนเดอร์
9.3.5 ชั้นแรปทิเลีย (Reptilia) สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ เต่า ตะพาบน้ำ แย้ ตะกวด จิ้งจก จิ้งเหลน จระเข้
9.3.6 ชั้นเอวีส (Aves) ได้แก่ นกชนิดต่างๆ เป็ด ไก่
9.3.7 ชั้นแมมมาเลีย (Mammalia) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ แพลทิปัสปากเป็ด(duck-billed platypus) สัตว์มีถุงหน้าท้อง (marsupials) เช่น จิงโจ้ โอพอส ซัม แทสมาเนียนเดวิล สัตว์มีรก(placenta) เช่น กระรอก กระต่าย วัว ควาย ช้าง แรด ลิง คน

อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)


อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)

                พืชเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เซลล์เป็นชนิดยูแคริโอต มีสารสีเพื่อการสังเคราะห์ด้วยแสงเรียกว่าคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีหลายชนิด มีผนังเซลล์เป็นสาร เซลลูโลส สืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีวัฏจักรชีวิตแบบสลับ  (alternation of generation) การจำแนกเป็นไฟลัมหรือดิวิชันใช้ลักษณะวัฏจักรชีวิตแบบสลัลที่มีระยะแกมีโทไฟต์ (gemetophyte) และสปอโรไฟต์ (sporophyte) การมีท่อลำเลียงอาหารและน้ำ มีรากและใบ และมีดอก (fower) หรือไม่มีดอก แบ่งออกเป็นดิวิชัน ดังนี้
1.       ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta) เป็นพืชขนาดเล็ก ไม่มีระบบท่อลำเลียง มีระยะแกมีโทไฟต์เจริญเป็นอิสระนานกว่าระยะสปอโรไฟต์ ได้แก่ มอสส์ (moss) ลิเวอร์เวิร์ต (liverwort) และฮอร์นเวิร์ต (hornwort)
2.       ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta) พืชมีลำต้นยาวเรียว เริ่มมีท่อลำเลียง ไม่มีใบและรากที่แท้จริง ได้แก่สกุลPsilotum หรือหวายทะนอย
3.       ดิวิชันไลโคไฟตา (Divison Lycophyta) พืชโบราณ มีใบและรากที่แท้จริง มีท่อลำเลียง ได้แก่ สกุลSelagilnella หรือตีนตุ๊กแก สกุล Lycopediun หรือหญ้ารังไก่ สามร้อยยอด
4.       ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta) ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อ ๆ มีรากและใบที่แท้จริง มีท่อลำเลียงที่แท้จริง ได้แก่สกุล Equisetum หรือหญ้าถอดปล้อง สนหางม้า
5.       ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta) เป็นพืช เริ่มมีท่อลำเลียงพัฒนาดีขึ้น ไม่มีดอก ได้แก่เฟิร์น ผักแว่น จอกหูหนู แหนแดง ชายผ้าสีดา
6.       ดิวิชันไพโนไฟตา (Division Pinophyta) เป็นพืชยืนต้น มีเนื้อไม้ มีท่อลำเลียงที่พัฒนาดีขึ้น มีรากและใบ มีเมล็ด แต่เมล็ดไม่มีส่วนหุ้มเมล็ด (คือ เปลือย [ghymnosperm]) แบ่งเป็นสามซับดิวิชัน (subdivision) คือ
6.1    ซับดิวิชัน Cycadicae คือพืชพวกปรง (Cycas)
6.2    ซับดิวิชัน Pinicae ได้แก่ แป๊ะก้วย สกุล Ginkgo และพืชพวกสน เช่น สนสองใบ (Pinus merkusii) สนสามใบ (Pinus Kesiya) ไซเพรสส์ (Cypress) เรดวูด(redwood)
6.3    ซับดิวิชัน Gneticae ส่วนใหญ่เป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่ เช่น มะเมื่อย สกุล Gnetum และพืชในทะเลทรายแอฟริกา สกุล Welwitschia
7.       ดิวิชันแมกโนลิโอไฟตา (Division Magnoliophyta) คือพืชไม้ดอกที่มีท่อลำเลียง มีใบและราก มีเมล็ดที่มีรังไข่ห่อหุ้ม แบ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (monocots) และพืชใบเลี้ยงคู่(dicots) หรือแบ่งเป็นสองชั้นคือ
7.1    ชั้นแม็กโนลิออปซิดา (Class Magnoliopsida [dicots]) เช่น มะลิ
7.2    ชั้นลิลิออปซิดา (Class liliopsida [monocots]) เช่น ข้าว กล้วย หญ้า

อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista)


อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista)

                โพรทิสตาเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ชนิดยูแคริโอต มีทั้งชนิดเซลล์เดียวและหลายเซลล์ ได้แก่ สัตว์เซลล์เดียว (protozoa)สาหร่ายต่างๆได้แก่ สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน้ำตาล สาหร่ายสีแดง สาหร่ายสีทอง เช่น ไดอะตอม

อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi)


อาณาจักรเห็ด รา (Kingdom Fungi)


                เห็ด ราเป็นสิ่งชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสหรือมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเรียกว่า ยูแคริโอต (eukaryote) อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ กินอาหารโดยสร้างน้ำย่อยแล้วปล่อยออกมาย่อยสารอินทรีย์จนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดเข้าเซลล์ (saprophyte) ได้แก่ เห็ดและราชนิดต่างๆ

อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)


อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)

มอเนอราเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเซลล์เดียวที่ไม่มีนิวเคลียส หรือไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกสิ่งมีชีวิตพวกนี้รวมๆ ว่า โพรแคริโอต(Prokaryote) ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน หรือไซอาโนแบคทีเรีย (cyanobacteria)

การจำแนกอาณาจักรสิ่งมีชีวิต


การจำแนกอาณาจักรสิ่งมีชีวิต ออกเป็น 5 อาณาจักร ดังนี้

  1. อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
  2. อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi)
  3. อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista)
  4. อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
  5. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต


ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
จากจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตบนโลกมนุษย์เมื่อหลายพันล้านปีมาแล้ว จนกระทั่งถึงปัจจุบันสิ่งมีชีวิตได้มีวิวัฒนาการแยกออกเป็นชนิดต่างๆมากมาย โดยแต่ละชนิดมีลักษณะ และการดำรงชีวิตต่างๆกันเช่น บางชนิดมีลักษณะง่ายๆเหมือนชีวิตแรกเกิด บางชนิดมีลักษณะสลับซับซ้อน บางชนิดดำรงชีวิตอยู่ในน้ำ บางชนิดดำรงชีวิตอยู่บนบก เป็นต้น ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการศึกษาและความเข้าใจถูกต้องตรงกัน นักวิทยาศาสตร์ จึงได้จัดแบ่งสิ่งมีชีวิตดังกล่าวเหล่านี้ออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่จนถึงหมวดหมู่ย่อยตามลำดับดังนี้
1. อาณาจักร (Kingdom)
2. ไฟลัม (Phylum )
3. คลาส (Class)
4. ออร์เดอร์ (Order )
5. แฟลมมิลี่ (Family)
6. จีนัส (Genus)
7. สปีชีส์ (Species)

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แฟนเก่า "บวช"


พยายามทำใจว่า ตอนนี้คุณเป็นเพื่อน ไม่ใช่เป็นแฟน
เพื่อนมีค่ากว่าแฟน ยั่งยืนกว่า เพราะไม่ยึดมั่น จึงไม่แปรได้ง่าย
ไม่ยึดว่าเป็นแฟนเก่า
ความทุกข์เพียงกำหนดรู้ อย่าไปคิดซ้ำซาก



วันนั้น อยากไปเพื่ออนุโมทนาบุญและไปอย่างเพื่อน ร่วมเกิดแก่เจ็บตาย
เป็นการแสดงสัจจะ เป็นการบอกว่าเราเป็นเพื่อน และไปเพื่อเอาบุญ
แต่เนื่องด้วยภาระและหน้าที่ จึงทำให้ไปร่วมงานไม่ได้
ทำได้เพียง "อธิษฐานจิต"

ให้สมาทานศีล ห้า ตั้งใจว่าเราเป็นเพื่อนไปเอาบุญ ไม่คิดซ้ำซาก
เมื่อไป ให้เจริญสติไว้ตลอด จะบริกรรมภาวนา พุทโธ หรือ เจริญสติไว้ที่ปลายจมูกก็ได้ ให้ภาวนาไว้ทุกลมหายใจ จะพบว่า ตนเองเข้มแข็งต่อการกระทบมาก อย่างไม่น่าเชื่อ


ขอให้เจริญในธรรม มีความเข้มแข็ง
ไม่อธิษฐาน จิต กับความผูกพันในอนาคต เพราะอนาคตยังมีอีกหลายปัจจัย 

แต่อธิษฐานว่า ขอให้เจริญในธรรม อยู่ในความดี ผ่านอุปสรรคได้ จนพระนิพพาน

กระดาษ


กระดาษสะอาดขาว มันแวววาว ราวหมู่เมฆ  นับวัน มันใกล้ขาด เพราะป่าคลาด ทั้งชาติสิ้น
ผู้คนต่างก็ตัด มัธยัดไม่เคยพอ สักวันเราจะท้อ ทั้งลูกพ่อ ไร้ป่าไม้ให้กระดาษ 

บ้านเรา

ความเป็นอยู่เรียบง่ายในหลักแหล่ง  ไร้ขันแข่งแบ่งแยกแตกปัญหา 
มิต้องสวมหน้ากากมากมารยา ดูสุขกว่าเมืองกรุงที่รุ่งเรือง

ลองดู

ข้ามคันคลอง น้ำเย็น แลเป็นสาย  เห็นปลาว่าย แหวกดำ เพราะน้ำใส ลำธารา นี่หรือ คือสายใย หล่อเลี้ยงให้ เราอยู่ คู่แดนดง
มองกระท่อม ซอมซ่อ แค่พออยู่ ไม่เลิศหรู แต่ใน ใจประสงค์ หลังคาจาก ฟากใช้ ลำไผ่ตง ดูมั่นคง อยู่ย่าน วิมานดิน