moopipe

moopipe

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

The human brain

“The human brain continues to create new neurons throughout life. Exercise and cognitive stimulation can impact the number of new cells created in your brain.”

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การนั่งสมาธิ

1. ศีรษะตั้งตรงตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่งจนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นหรือไม่เห็นอะไรหรือไม่ก็ตามขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้าจะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวนง่วงนอนได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะคนขี้ง่วงให้ทำอย่างลืมตานี้แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับของมันเองในเมื่อถึงขั้นที่มันจะต้องหลับ หรือจะทำอย่างหลับตาเสียตั้งต่ต้นก็ตามใจ แต่วิธีที่ลืมตานั้นจะมีผลดีกว่าหลายอย่าง แต่ว่าสำหรับบางคนรู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะพวกที่ยึดถือในการหลับตาย่อมไม่สามารถทำอย่างลืมตาได้เลย
2. มือปล่อยวางไว้บนตักซ้อนกันตามสบาย ขาขัดหรือซ้อนกันโดยวิธีที่จะช่วยยันน้ำหนักตัวให้นั่งได้ถนัดและล้มยาก ขาขัดอย่างซ้อนกันธรรมดา หรือจะขัดไขว้กันนั้นแล้วแต่จะชอบหรือทำได้ คนอ้วนจะขัดขาไขว้กันอย่างที่เรียกว่า ขัดสมาธิเพชรนั้น ทำได้ยากและไม่จำเป็น ขอแต่ให้นั่งคู้ขาเข้ามา เพื่อรับน้ำหนักตัวให้สมดุลล้มยากก็พอแล้ว ขัดสมาธิอย่างเอาจริงเอาจัง ยากๆแบบต่างๆ นั้น ไว้สำหรับเมื่อจะเอาจริงอย่างโยคีเถิด
3. ในกรณีพิเศษสำหรับคนป่วยคนไม่ค่อยสบายหรือแม้แต่คนเหนื่อย จะนั่งอิงหรือนั่งเก้าอี้หรือเก้าอี้ผ้าใบสำหรับเอนทอดเล็กน้อย หรือนอนเลย สำหรับคนเจ็บไข้ก็ทำได้ ทำในที่ไม่อับอากาศ หายใจได้สบายไม่มีอะไรกวนใจเกินไป
4. เสียงอึกทึกที่ดังสม่ำเสมอ และไม่มีความหมายอะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงาน เหล่านี้ไม่มีอุปสรรค เว้นแต่จะไปยึดถือเอาว่าเป็นอุปสรรคเสียเอง เสียงที่มีความหมายต่างๆ เช่น เสียงคนพูดกันนั้นเป็นอุปสรรคแก่ผู้หัดทำ ถ้าหาที่เงียบเสียงไม่ได้ ก็ให้ถือว่าไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไปก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง
5. ทั้งที่ตามองเหม่อดูปลายจมูกอยู่ก็สามารถรวม ความนึกหรือความรู้สึก หรือเรียกภาษาวัดว่า สติ ไปกำหนดจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของตัวเองได้ คนที่ชอบหลับตา ก็หลับตาแล้วตั้งแต่ตอนนี้ คนที่ชอบลืมตาลืมไปได้เรื่อยจนมันค่อยๆหลับของมันเองเมื่อเป็นสมาธิมากขึ้นๆ
6. เพื่อจะให้กำหนดได้ง่ายๆ ในขั้นแรกหัด ให้พยายามหายใจให้ยาวที่สุดที่จะยาวได้ด้วยการฝืนทั้งเข้าและออกหลายๆครั้งเสียก่อน เพื่อจะได้รู้ของตัวเองให้ชัดเจนว่าลมหายใจที่มันลากเข้าลากออกเป็นทางอยู่ภายในนั้น มันลากถูหรือกระทบอะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่ามันไปรู้สึกว่าสุดลงที่ตรงไหนที่ในท้อง โดยเอาความรู้สึกที่กระเทือนนั้นเป็นเกณฎ์พอเป็นเครื่องกำหนดง่ายๆ เท่าที่จะกำหนดได้
7. คนธรรมดาจะรู้สึกลมหายใจกระทบปลายจะงอยจมูก ให้ถือเอาตรงนั้นเป็นที่สุดข้างนอก ถ้าคนจมูกแฟบ หน้าหัก ริมฝีปากบนเชิด ลมจะกระทบริมฝีปากบน อย่างนี้ก็ให้กำหนดเอาที่ตรงนั้นว่าเป็นที่สุดท้ายข้างนอก แล้วก็จะได้จุดทั้งข้างนอกและข้างใน โดยกำหนดเอาว่าที่ปลายจมูกจุดหนึ่งที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจได้ลากตัวมันเองไปมาอยู่ระหว่างสองจุดนี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ
8. ทีนี้ทำใจของเราให้เป็น เหมือนอะไรที่คอยวิ่งตามลมนั้นไม่ยอมพรากทุกครั้งที่หายใจทั้งขึ้นและลงตลอดเวลาที่ทำสมาธินี้จัดเป็นขั้นหนึ่งของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี่ก่อนว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" กล่าวมาแล้วว่าเริ่มต้นทีเดียวให้พยายามฝืนหายใจให้ยาวที่สุด และแรงๆ และหยาบที่สุดหลายๆครั้ง เพื่อให้พบจุดหัวท้ายแล้วพบเส้นที่จะลากอยู่ตรงกลางๆให้ชัดเจน
9. เมื่อ จิตหรือสติ จับหรือกำหนดลมหายใจที่เข้าๆ ออกๆ ได้โดยทำความรู้สึกที่ๆ ลมมันกระทบลากไปแล้วไปสุดลงที่ตรงไหน แล้วจึงกลับเข้าหรือกลับออกก็ตามดังนี้แล้ว ก็ค่อยๆ ผ่อนให้การหายใจนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหายใจอย่างธรรมดา โดยไม่ต้องฝืน แต่สตินั้นคงกำหนดที่ลมได้ตลอดเวลา ตลอดสาย เช่นเดียวกับเมื่อแกล้ง หายใจหยาบแรงๆ นั้น เหมือนกัน คือ กำหนดได้ตลอดสายที่ลมผ่านจากจุดข้างในคือสะดือ หรือท้องส่วนล่างก็ตาม ถึงจุดข้างนอกคือปลายจมูก หรือปลายริมฝีปากบนแล้วแต่กรณี ลมหายใจจะละเอียดหรือแผ่วลงอย่างไร สติก็คงกำหนดได้ชัดเจนอยู่เสมอไปโดยให้การกำหนดนั้นละเอียดเข้ามาตามส่วน
10. ถ้าเผอิญเป็นว่าเกิดกำหนดไม่ได้ เพราะลมหายใจละเอียดเกินไปก็ให้ตั้งต้นหายใจให้หยาบ หรือแรงกันไปใหม่ แม้จะไม่เท่าทีแรกก็เอาพอให้กำหนดได้ชัดเจนก็แล้วกัน กำหนดกันใหม่จนให้มีสติรู้สึกอยู่ที่ลมหายใจไม่มีขาดตอนให้จนได้ คือจนกระทั่งหายใจอยู่ตามธรรมดาไม่มีฝืนอะไรก็กำหนดได้ตลอด มันยาวหรือสั้นแค่ไหนก็รู้ มันหนักหรือเบาเพียงไหนก็รู้พร้อมอยู่ในนั้น เพราะสติเพียงแต่คอยเกาะแจอยู่ติดตามไปมาอยู่กับลมตลอดเวลา ทำได้อย่างนี้เรียกว่า ทำการบริกรรมใน ขั้น "วิ่งตามไปกับลม" ได้สำเร็จ
11. การทำไม่สำเร็จนั้นคือ สติ หรือความนึก ไม่อยู่กับลมตลอดเวลา เผลอเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ มารู้เมื่อมันไปแล้ว และก็มีรู้มันไปเมื่อไร โดยอาการอย่างไร เป็นต้น พอรู้ก็จับตัวมันมาใหม่และฝึกกันไปกว่าจะได้ขั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ๑๐ นาที เป็นอย่างน้อยแล้วค่อยฝึกขั้นต่อไป
12. ขั้นต่อไปซึ่งเรียกว่า ขั้นที่สอง หรือ ขั้น "ดักดูอยู่แต่ตรงที่แห่งใดแห่งหนึ่ง" นั้น จะทำต่อเมื่อทำขั้นแรกข้างต้นได้แล้วเป็นดีที่สุด หรือใครจะสามารถข้ามมาทำขั้นที่สองนี้ได้เลยก็ไม่ว่า ในขั้นนี้จะให้ สติหรือความนึก คอยดักกำหนดอยู่ตรงที่ใดแห่งหนึ่งโดยเลิกการวิ่งตามลมเสีย ให้กำหนดความรู้สึกเมื่อลมหายใจเข้าไปถึงที่สุดข้างใน คือสะดือ ครั้งหนึ่งแล้วปล่อยว่างหรือวางเฉย แล้วมากำหนดรู้สึกกันเมื่อลมออกมากระทบที่สุดข้างนอก คือปลายจมูกอีกครั้งหนึ่งแล้วก็ปล่อยว่างหรือวางเฉย จนมีการกระทบส่วนสุดข้างในคือสะดืออีก ทำนองนี้เรื่อยไปไม่มีการเปลี่ยนแปลง
13. เมื่อเป็นขณะที่ ปล่อยวาง หรือ วางเฉย นั้น จิตก็ไม่ได้หนีไปอยู่บ้านช่องไร่นา หรือที่ไหนเลยเหมือนกัน แปลว่า สติคอยกำหนดที่ส่วนสุดข้างในหนึ่ง ข้างนอกแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้นปล่อยเงียบหรือว่าง เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นที่แน่นอนแล้ว ก็เลิกกำหนดข้างในเสีย คงกำหนดแต่ข้างนอก คือที่ปลายจมูกแห่งเดียวก็ได้ สติคอยเฝ้ากำหนดอยู่แต่ที่จะงอยจมูกไม่ว่าลมจะกระทบเมื่อหายใจเข้าหรือเมื่อหายใจออกก็ตาม ให้กำหนดรู้ทุกครั้ง สมมติเรียกว่า เฝ้าแต่ตรงปากประตูให้มีความรู้สึกครั้งหนึ่งๆ เมื่อลมผ่านออกนั้นว่างหรือเงียบ ระยะกลางที่ว่างหรือเงียบนั้น จิต ไม่ได้หนีไปอยู่ที่บ้านช่องหรือที่ไหนอีกเหมือนกัน
14. ทำได้อย่างนี้เรียกว่า ทำบริกรรมใน ขั้น "ดักอยู่แต่ในที่แห่งหนึ่ง" นั้นได้สำเร็จ จะไม่สำเร็จก็ตรงที่จิตหนีไปเสียเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ มันกลับเข้าไปในประตู หรือเข้าประตูแล้วลอดหนีไปทางไหนเสียก็ได้ ทั้งนี้เพราะระยะที่ว่างหรือเงียบนั้น เป็นไปไม่ถูกต้องและทำไม่ดีมาตั้งแต่ข้างต้นของขั้นนี้ เพราะฉะนั้น ควรทำให้ดีหนักแน่นและแม่นยำมาตั้งแต่ขั้นแรก คือ ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" นั้นทีเดียว
15. แม้ขั้นต้นที่สุดหรือที่เรียกว่า "วิ่งตามตลอดเวลา" นั้น ก็ไม่ใช่ทำได้ง่ายสำหรับทุกคน และเมื่อทำได้ก็มีผลเกินคาดมาแล้วทั้งกายและใจ จึงควรทำให้ได้และทำให้เสมอๆ จนเป็นของเล่น อย่างการบริหารกายมีเวลาสองนาทีก็ทำ เริ่มหายใจให้แรงจนกระดูกลั่นก็ยิ่งดี จนมีเสียงหวีดหรือซูดซาดก็ได้ แล้วค่อยบ่อนให้เบาๆ ไปจนเข้าระดับปกติของมัน
16. ตามธรรมดาที่คนเราหายใจอยู่นั้นไม่ใช่ระดับปกติ แต่ว่าต่ำกว่าหรือน้อยกว่าปกติโดยไม่รู้สึกตัว โดยเฉพาะเมื่อทำกิจการงานต่างๆ หรืออยู่อิริยาบถที่ไม่เป็นอิสระนั้น ลมหายใจของตัวเองอยู่ในลักษณะที่ต่ำกว่าปกติที่ควรจะเป็นทั้งที่ตนเองไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้นจึงให้เริ่มด้วยหายใจอย่างรุนแรงเสียก่อน แล้วจึงค่อยปล่อยให้เป็นไปตามปกติ อย่างนี้จะได้ลมหายใจที่เป็นสายกลางหรือพอดี และทำร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติด้วย เหมาะสำหรับจะกำหนดเป็นนิมิตของอานาปานัสสติในขั้นต้นนี้ด้วย
17. ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การบริกรรมขั้นต้นที่สุดนี้ ขอให้ทำจนเป็นของเล่นปกติสำหรับทุกคน และทุกโอกาสเถิดจะมีประโยชน์ในส่วนสุขภาพทั้งทางกายและทางใจ อย่างยิ่งแล้วจะเป็นบันไดสำหรับขั้นสองต่อไปอีกด้วย แท้จริงความแตกต่างกันในระหว่าง ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" กับขั้น "ดักดูอยู่เป็นแห่งๆ" นั้น มีไม่มากมายอะไรนัก เป็นแต่การผ่อนให้ประณีตเข้า คือ มีระยะการกำหนดด้วยสติน้อยแต่คงมีผล คือ จิตหนีไปไม่ได้เท่ากัน
18. เพื่อให้เข้าใจง่าย จะเปรียบกันกับพี่เลี้ยงที่ไกวเปลเด็กอยู่ข้างเสาเปล ขั้นแรกก็จับเด็กใส่ลงในเปลแล้วเด็กยังไม่ง่วง ยังคอยจะดิ้นหรือลุกออกไปจากเปล ในขั้นนี้พี่เลี้ยงจะต้องคอยจับตาดูแหงนหน้าไปมา ดูเปลไม่ให้วางตาได้ซ้ายทีขวาทีอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เด็กมีโอกาสตกลงมาจากเปลได้ ครั้นเด็กชักจะยอมนอนคือไม่ค่อยจะดิ้นรนแล้ว พี่เลี้ยงก็หมดความจำเป็นที่จะต้องแหงนหน้าไปมา ซ้ายทีขวาที ตามระยะที่เปลไกวไปไกวมา พี่เลี้ยงคงเพียงแต่มองเด็กเมื่อเปลไกวมาตรงหน้าตนเท่านั้นก็พอแล้ว มองแต่เพียงครึ่งหนึ่งๆ เป็นระยะๆ ขณะที่เปลไกวไปมาตรงหน้าตนพอดี เด็กก็ไม่มีโอกาสลงจากเปลเหมือนกันเพราะเด็กชักจะยอมนอนขึ้นมาดังกล่าวแล้ว
19. ระยะแรกของการบริกรรม กำหนดลมหายใจในขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" นี้ก็เปรียบกันได้กับระยะที่พี่เลี้ยงต้องคอยส่ายหน้าไปมาตามเปลที่ไกวไม่ให้วางตาได้ ส่วนระยะที่สองที่กำหนดลมหายใจเฉพาะที่ปลายจมูกหรือที่รียกว่า ขั้น "ดักอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง" นั้น ก็คือขั้นที่เด็กชักจะง่วงและยอมนอนจนพี่เลี้ยงจับตาดูเฉพาะเมื่อเปลไกวมาตรงหน้าตนนั้นเอง
20. เมื่อฝึกหัดมาได้ถึงขั้นที่สองนี้อย่างเต็มที่ ก็อาจฝึกต่อไปถึงขั้นที่ผ่อนระยะการกำหนดของ สติ ให้ประณีตเข้าๆ จนเกิด สมาธิชนิดแน่วแน่ เป็นลำดับไปจนถึง ฌานขั้นใดขั้นหนึ่งได้ ซึ่งพ้นไปจากสมาธิ อย่างง่ายๆในขั้นต้น สำหรับคนธรรมดาทั่วไปและไม่สามารถนำมากล่าวรวมกันไว้ในที่นี้เพราะเป็นเรื่องละเอียดรัดกุม มีหลักเกณฑ์ที่ซับซ้อนต้องศึกษากัน เฉพาะผู้สนใจถึงขั้นนั้น ในขณะนี้เพียงแต่ขอให้สนใจในขั้นมูลฐานกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็นของเคยชินเป็นธรรมดาอันอาจจะตะล่อมเข้าขั้นสูงขั้นไปตามลำดับในภายหลัง

ยาสามัญประจำบ้าน (ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ)


  1. ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย
  2. ยาน้ำลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย
  3. ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามินท์
  4. ยาขับลม 
  5. ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง 
  6. ยาน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต
  7. ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ 
อารยา กล่าวว่า ทุกวันนี้สถาบันการศึกษาผลิตบัณฑิตออกมาไม่สอดคล้องกับที่ตลาดแรงงานต้องการ เช่น โยธา ไฟฟ้ามีมากเกินไป เพราะตลาดก่อสร้างกำลังหดตัว ในขณะที่ตลาดแรงงานด้านวิศวกรยานยนต์ สิ่งแวดล้อม ปิโตรเคมี กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาสุดท้ายที่มีค่าตอบแทนสูงที่สุด ในยุคที่โลกกำลังให้ความสนใจเรื่องพลังงานทดแทน แต่ปัญหา คือ ยังมีสถาบันเปิดสอนไม่มากนัก เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ "คันจิ"


ตัวอักษรจีน เผยแพร่มาสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านหนังสือต่างๆ จากประเทศจีน หลักฐานอักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น คือ ตราประทับทองคำที่ได้รับจากฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในพ.ศ. 600 ชาวญี่ปุ่นเริ่มเรียนรู้ภาษาจีนโบราณด้วยตัวเองตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด เอกสารลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของญี่ปุ่นนั้น คือ หนังสือตอบกลับทางการทูตจากกษัตริย์ทั้งห้าแห่งวา (倭の五王 Wa no go-ō) (วา (倭,和 Wa]) เป็นชื่อแรกของประเทศญี่ปุ่นที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์) ถึง ซุ่นฮ่องเต้ ((劉)宋順帝) แห่งราชวงศ์หลิวซ่ง (劉宋) ของจีน ซึ่งเขียนขึ้นโดยชาวจีนที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น เมื่อพ.ศ. 1021 และได้รับการยกย่องว่าใช้สำนวนอุปมาอุปมัยได้อย่างยอดเยี่ยม ต่อมา จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นทรงก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า “ฟุฮิโตะ” ขึ้นเพื่ออ่านและเขียนภาษาจีนโบราณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา เอกสารภาษาจีนที่เขียนในญี่ปุ่นมักจะได้รับ ไกตายวัลตายจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแสดงว่าอักษรจีนได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในญี่ปุ่น ไกตายวัลตายผู้ธนกฤตกาก เจนครองธรรม พ่อของธนกากกฤตกากตายสุคาพภาพโป๊9ล้านล้านล้านสุคาพภาพโป๊
ในสมัยที่อักษรจีนเผยแพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ภาษาญี่ปุ่นเองยังไม่มีตัวอักษรไว้เขียน อักษรจีนหรือคันจิจะถูกเขียนเป็นภาษาจีน และอ่านเป็นเสียงภาษาจีนทั้งหมด ต่อมาจึงเริ่มมีการใช้ระบบคัมบุน (漢文 kanbun) คือ การใช้อักษรจีนร่วมกับเครื่องหมายแสดงการออกเสียง (Diacritic) เพื่อช่วยให้ชาวญี่ปุ่นสามารถออกเสียงตัวอักษรจีนนั้นๆได้ เมื่ออ่านออกเสียงได้แล้ว ชาวญี่ปุ่นก็จะสามารถเรียงประโยคใหม่ และเติมคำช่วยตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นที่ตนเองเข้าใจ และสามารถเข้าใจประโยคภาษาจีนนั้นได้ในที่สุด
ในยุคต่อมา เริ่มมีการนำตัวอักษรจีนมาเขียนเป็นประโยคภาษาญี่ปุ่น โดยใช้ระบบที่เรียกว่า มันโยงะนะ (万葉仮名, まんようがな Man'yōgana) คือ การใช้ตัวอักษรจีนหนึ่งตัวเขียนแทนภาษาญี่ปุ่นหนึ่งพยางค์ โดยจะใช้ตัวอักษรจีนที่มีเสียงในภาษาจีนใกล้เคียงกับพยางค์ของภาษาญี่ปุ่นพยางค์นั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงความหมายของอักษรจีนตัวนั้นเลย ระบบการเขียนนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือรวมบทกวีชื่อมันโยชู (万葉集 Man'yōshū) แต่งขึ้นประมาณพ.ศ. 1302 ในยุคนะระ ถือเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ของญี่ปุ่น
การใช้ระบบอักษรพยางค์นี้ ได้พัฒนาไปเป็นอักษรฮิระงะนะ ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมันโยงะนะที่เขียนด้วยพู่กันในแบบอักษรหวัด วัตถุประสงค์เดิมของอักษรฮิระงะนะ คือ เพื่อให้สตรีซึ่งสังคมไม่ยอมได้ให้รับการศึกษาสูงได้อ่านออกเขียนได้ วรรณกรรมในยุคเฮอันส่วนใหญ่ที่ผู้แต่งเป็นสตรีถูกเขียนด้วยอักษรฮิระงะนะ
อักษรพยางค์อีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น คือ อักษรคะตะคะนะ มีต้นกำเนิดคล้ายคลึงกับอักษรฮิระงะนะ อักษรคะตะคะนะดัดแปลงมาจากอักษรมันโยงะนะเช่นกัน แต่ตัดเฉพาะบางส่วนของอักษรมันโยงะนะมาเป็นอักษรคะตะคะนะหนึ่งตัว อักษรคะตะคะนะกำเนิดในสำนักสงฆ์ยุคเฮอัน ใช้เสมือนการย่ออักษรมันโยงะนะเพื่อให้ง่ายต่อพระสงฆ์ในการศึกษาพระคัมภีร์ ดังนั้น ตัวอักษรคะนะ ของญี่ปุ่นทั้งฮิระงะนะและคะตะคะนะ จึงมีต้นกำเนิดมาจากอักษรคันจินี่เอง
ในปัจจุบัน อักษรคันจิใช้เขียนเป็นส่วนหนึ่งของคำภาษาญี่ปุ่นมากมาย โดยอักษรคันจิจะเป็นขั้วคำ หรือหัวข้อของคำ (Word stem) และเติมอักษรฮิระงะนะ เพื่อการผันคำให้เป็นทั้งคำนาม คำวิเศษณ์ และคำกริยา นอกจากนี้ อักษรคันจิจะใช้เชียนชื่อสิ่งต่างๆ ทั้งชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อเมือง ชื่อวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อความเป็นทางการ
เนื่องจากอักษรจีนนั้น มีจำนวนนับไม่ถ้วน ทำให้ยากต่อการเรียนรู้และจดจำ กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นจึงได้ประกาศชุดอักษรคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า โจโยคันจิ (常用漢字 Jōyō kanji) ซึ่งชาวญี่ปุ่นมักจะจดจำอ่านออกเสียงได้ ส่วนอักษรคันจินอกเหนือจากนี้ จะเขียนกำกับเสียงด้วยอักษร โอะกุริงะนะ (送り仮名 Okurigana) ซึ่งเป็นอักษรฮิระงะนะตัวเล็กๆ กำกับเสียงของอักษรคันจิแต่ละตัว เพื่อให้ทราบความหมายและอ่านออกเสียงได้

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ดอกกรรณิการ์


“…กรรณิการ์  ก้านสีแดงสด
คิดผ้าแสดติดขลิบนาง
เห็นเนื้อเรื่อโรงราง
ห่มสองบ่าอ่าโนเน่…”

หลักภาษาไทย (ต่อ)

ภาษาไทย


1. จุดเด่นภาษาไทย

  • ภาษาคำโดด = ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปของคำ
  • การวางคำหลักคำขยาย ในภาษาไทยจะเอาคำหลักขึ้นก่อนแล้วจึงตามด้วยคำขยาย
  • คำหลัก + คำขยาย เช่น ขนมอร่อย
  • มีเสียงวรรณยุกต์

2.สำนวนภาษาต่างประเทศ
  • เยิ่นเย้อ ดูได้จากมีคำว่า"มีความ, ให้ความ, ทำการ,ต่อการ, ต่อความ, ซึ่ง" แบบไม่จำเป็นเช่น ครูมีความดีใจมาก
  • วางส่วนขยายหน้าคำหลัก เช่น ง่ายแก่ความเข้าใจ
  • เอาคำว่า "มัน" มาขึ้นประโยคแบบไม่มีความหมาย เช่น มันดีจังเลย
  • นิยมใช้ Passive Voice (ถูก+Verb)ในความหมายที่ดี เช่น ถูกชมเชย
  • สำนวนบางสำนวน เช่น ในที่สุด ในอนาคตอันใกล้นี้ ในความคิดของผม พบตัวเอง ใช้ชีวิต
1.คำไทยแท้
คำไทยแท้มักจะเป็นคำพยางค์เดียวและสะกดตรงตามมาตรา
แต่ต้องระวังหน่อย : 

1.คำไทยแท้เกิน 1 พยางค์ก็มี

- ประ, กระ + คำไทย เช่น ประเดี๋ยว ประหนึ่ง กระดก กระดุม เป็นต้น

-คำกร่อนเสียง เช่น มะพร้าว มะม่วง ตะเข้ ระริก

คำบางคำ เช่นเสภา ระฆัง

2.คำพยางค์เดียวสะกดตรงมาตรบางคำก็ไม่ใช่คำไทย

-คำที่ใส่"ำ"(สระอำ) เข้าไปได้เป็นคำเขมร เช่น เกิดกราบ จง แจก ทาย เดิน อวย

-คำที่อ่านโดยใส่สระ "ะ" ไปที่ตัวอักษรสุดท้ายได้ เป็นคำบาลี-สันสกฤต เช่น เอก ทาน นาม ชน พระ(วร) โลก กาม ครู

คำไทยที่มีควบกล้ำมี 11 เสียง คือ ...
กร กล กว ก่อน
คร คล คว ค่ำ
ปร ปล ไป
พร พล พบ
ตร เตี่ย

3.คำบาลี - สันสกฤต

คำสันสกฤต

1.ควบกล้ำ หรือมี รร เช่น ปรโมทย์, วิเคราะห์, ภรรยา

2. มี"ศ,ษ,ฤ,ฤา,ฑ,สถ" เช่น ศักดา ฤษี จุฑฑา เสถียร

***คำ "ศ"เป็นภาษาสันสกฤต ยกเว้น ศอก เศิก เศร้า ศึก เป็นคำไทย

คำบาลี สังเกตจาก "ตัวสะกดและตัวตาม"

- ถ้าตัวสะกด ตัวตามอยู่ในวรรคเดียวกัน ถือเป็นคำบาลี 
เช่น มัจฉา รัฏฐา หัตถ์ บุปผา สัมมา

พยัญชนะวรรค

ก ก ข ค ฆ ง
จ จ ฉ ช ฌ ญ
ฎ ฎ ฐ ฑ ฒ ณ
ต ต ถ ท ธ น
ป ป ผ พ ภ ม
เศษวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ อ

4.คำเขมร คำเขมรสังเกตจาก
1. คำนั้นแผลง " " เข้าไปได้ เช่น
กราบ > กำราบ 
เกิด > กำเนิด 
เจริญ > จำเริญ
จอง(จำนอง) 
ชาญ(ชำนาญ)
ตรวจ(ตำรวจ) 
เสร็จ(สำเร็จ) 
อาจ(อำนาจ) 
แข็ง(กำแหง) 
ตรง(ดำรง) 
ตรัส(ดำรัส) 
ทรุด(ชำรุด) 
เปรอ(บำเรอ)
2.คำนั้นเอาคำว่า บำ,บัง,,บรร นำหน้าได้ เช่น
เพ็ญ > บำเพ็ญ 
บำราศ บำบัด บรรจง บรรทม

คำต่อไปนี้เป็นคำเขมร
- ขจาย ขจร ขจอก ขดาน ขจัด ขจบ
- เสด็จ เสวย บรรทม โปรด
- ถนน กระทรวง ทบวง ทหาร ทลาย แถง โถง
- ขนม สนุด นาน สนิม

5.คำภาษาอื่น ๆ
ภาษาทมิฬ เช่น ตะกั่ว อาจาด สาเก กุลี
ภาษาชวา+ มลายู เช่น บุหลัน บุหงา บุหรง ทุเรียน น้อยหน่า มังคุด มะละกอ โสร่ง สลัด กริช
ภาษาโปรตุเกส เช่น สบู่ ปิ่นโต เหรียญ กาละแม
ภาษาเปอร์เชีย เช่นกุหลาย ตรา ชุกชี